หน้าแรก การเมือง รู้จัก “ภาษีดอกหญ้า” ที่ “เอ๋ ปารีณา” ครอบครองที่ดินกว่า 1.7 พันไร่

รู้จัก “ภาษีดอกหญ้า” ที่ “เอ๋ ปารีณา” ครอบครองที่ดินกว่า 1.7 พันไร่

475
แชร์ข่าวนี้

เป็นข่าวโด่งดังและรอการตรวจสอบจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าการครอบครองที่ดิน กว่า 1.7 พันไร่ในพื้นที่ อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ของ ส.ส.หญิง ดาวเด่น “เอ๋ ปารีณา ไกรคุปต์” เป็นการครอบครองที่ถูกต้องตามกฎระเบียบของทางราชการหรือไม่ อีก 1-2 วัน คงชัดเจน แต่ในเบื้องต้น ที่ ส.ส. ปารีณา ยืนยัน คือ การเข้าครอบครองเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินกว่า 1.7 พันไร่ เป็นการ เข้าใช้สิทธิเพื่อทำมาหากินโดย การเสีย “ภาษีดอกหญ้า” ไม่ใช้การยึดครองถือกรรมสิทธิ ?

“ภาษีดอกหญ้า” คืออะไร ที่ดินที่ต้องเสียภาษีชนิดนี้ คือ ที่ดินอะไร และ มีสิทธิสามารถทำอะไรได้บ้างในที่ดินเหล่านี้ ?

การเสีย”ภาษีดอกหญ้า” คือ การเสียภาษีท้องถิ่นประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่า “ภาษีบำรุงท้องที่” ซึ่งผู้เข้าใช้สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน รกร้าง หรือ การเข้าถางป่าเพื่อใช้เป็นที่ทำกิน และเพื่อให้มีหลักฐานที่อ้างอิงจากการเข้าใช้ประโยชน์บนที่ดินนั้น จึงมีการเสียภาษีบำรุงท้องที่ อย่างเช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพื่อให้ได้เอกสารรับรองการจ่ายภาษี ภ.บ.ท. 5 เพื่ออ้างอิงถึงการครอบครองที่ดินดังกล่าว

ทั้งนี้ทั้งนั้น การจ่าย ภาษีดอกหญ้า หรือ ภ.ท.บ. 5 จึงเป็นเอกสารยืนยันการเข้าครองที่ดินเพื่อทำประโยชน์ แต่ไม่ใช่ เอกสารสิทธิใดๆ เพราะไม่ได้ออกจากกรมที่ดิน หรือหน่วยงานอื่นใด ที่มีอำนาจในการออกเอกสารรับรองสิทธิ

ดังนั้น การเข้าไปใช้สิทธิในที่ว่างเปล่าเหล่านั้น จึงอาจเข้าไปถือสิทธิในที่ดินที่มีเจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว หรือ เป็นที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินของหน่วยงานรัฐ อย่างเช่นที่ราชพัสดุ หรือ ที่ของ ทหาร ที่ดินของ ส.ป.ก. ที่ดินของอุทยานฯ ของ กรมป่าไม้เป็นต้น แต่ การเข้าใช้สิทธิเพื่อทำประโยชน์โดย การจ่ายภาษีดอกหญ้า หรือ ภ.ท.บ. 5 นั้น อาจเกิดประโยชน์ในอนาคตก็ได้ หาก ที่ดินว่างเปล่าเหล่านั้น ในอนาคตภาครัฐมีนโยบาย ให้ผู้ครอบครองที่ดิน ภ.บ.ท. 5 นำมาออกเอกสารสิทธิที่ดินเหล่านั้น

ส่วนนโยบาย จะมีหลักเกณฑ์ ให้ใคร มีคุณสมบัติอย่างไร เป็นเรื่องที่ภาครัฐจะกำหนดรายละเอียดออกมา เพื่อให้ดำเนินการให้ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ครอบครองที่ดินว่างเปล่า โดยการเสียภาษีดอกหญ้า ผู้ครอบครองสามารถใช้ประโยชน์ทำกิน สร้างที่พักอาศัยได้ ตราบที่ผู้มีกรรมสิทธิ์เรียกคืน โดยผลประโยชน์ ที่เกิดจากการใช้ที่ทำกิน หรือ บ้านที่อยู่อาศัยนั้นเป็นสิทธิของ ผู้ครอบครอง แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ใดในพื้นที่ดังกล่าว


แชร์ข่าวนี้