หน้าแรก การเมือง “เฉลิม” จ่อยื่นอภิปราย “ประยุทธ์-สมคิด-วิษณุ-ดอน” ลั่น ข้อมูลแน่นจนรัฐบาลอยู่ไม่ได้

“เฉลิม” จ่อยื่นอภิปราย “ประยุทธ์-สมคิด-วิษณุ-ดอน” ลั่น ข้อมูลแน่นจนรัฐบาลอยู่ไม่ได้

720
แชร์ข่าวนี้

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานคณะกรรมการกิจการพิเศษพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ เตรียมยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในระหว่างวันที่ 6-10 มกราคม 2563 เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้อยู่บริหารบ้านเมือง จะประสบปัญหาคนจนเพิ่มขึ้นประสบกับความทุกข์ยากมีเพียงบุคคลที่ใกล้ชิดรัฐบาลเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ ตนเองจึงพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็นจะต้องยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ

สำหรับ เหตุผลที่ยื่นญัตติ คือเป็นรัฐบาลที่มีการทุจริตคอรัปชั่นมากที่สุด โดยอาศัยสภาผู้แทนราษฎรและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่เข้ามารับตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) เป็นเครื่องมือ แก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ล้มเหลวต่อการแก้ปัญหาความยากจน แต่มีเพียง 2 คนที่บอกไม่ล้มเหลว คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรัฐบาลที่บุคคลเห็นต่างทางการเมืองมักถูกทำร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า แก้ปัญหายาเสพติดล้มเหลว เปิดโอกาสให้รัฐบาลและบุคคลในพรรคร่วมรัฐบาลกระทำผิดกฎหมาย

จึงอยากฝากถึงนายวิษณุ เครืองาม ในฐานะเป็นนักกฎหมายเหมือนกัน ที่ไปบิดเบือนซื้อเวลาให้นางสาวปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ และรัฐบาลชุดนี้ชั่วดีถี่ห่าง ไม่ยอมรับรู้รับเห็นเอาจำเลยที่อยู่ศาลมาเป็นรัฐมนตรี 2-3 กระทรวง จึงเสนอยื่นอภิปรายไว้วางใจ ส่วนการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจจะสามารถล้มรัฐบาลได้หรือไม่ ต้องยอมรับว่า ล้มรัฐบาลได้ยากแต่เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ไม่ได้

ส่วนบุคคลที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เบื้องต้นมี จำนวน 4 คนในรัฐบาล ประกอบด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหลังจากนั้นจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจเพิ่มอีก 2 คน แต่จะขอเปิดเผยรายชื่อภายหลัง ซึ่งทั้งหมดได้เตรียมข้อมูลที่จะนำไปอภิปรายไม่ไว้วางใจไว้แล้ว และข้อมูลนั้นมีความชัดเจน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เฉลิม

ร.ต.อ.เฉลิม ยังกล่าวด้วยว่า ฝากถามถึงนายกรัฐมนตรี จำนวน 6 ข้อ คือ

1. กรณียกที่ดินยาสูบให้นายทุนไปทำอสังหาริมทรัพย์ และยังปรับภาษี บริษัทยาสูบไทย จนแพงเทียบเท่าบุหรี่นอก ทำให้ประชาชนหันไปสูบบุหรี่นอก และทำให้โรงงานยาสูบไทยขาดทุน

2. นายกรัฐมนตรีให้กลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริษัทไทยเบฟเวอเรจ ต่อสัญญาเช่าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โดยการรื้อสัญญาใหม่โดยไม่เปิดประมูล จึงอยากทราบว่าทำไมถึงไม่เปิดประมูล หรือในประเทศไทยมีนายเจริญเพียงคนเดียว เป็นการช่วยกันหรือไม่

3. ให้ต่างชาตินักลงทุนเช่าที่ดินรัฐจำนวน 99 ปี แต่ประชาชนไม่เห็นด้วย จึงเปลี่ยนเป็นให้เช่า 50 ปี และต่อสัญญาอีก 49 ปี สรุปคือให้เช่า 99 ปีเช่นเดิม

4. ดึงโครงการทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ และทางด่วนบางนา-ชลบุรี เข้ากองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้นายทุนด้วยหรือไม่

5. ข้าวดีของไทยแต่ไปประเมินให้เป็นข้าวเสื่อมราคา และนำไปขายราคาถูก นับเป็นการกระทำที่สุจริตหรือไม่

6. ที่ดินที่เกี่ยวพันกับบริษัทกฤษดานคร หลายพันไร่ บริเวณเขตบางนา-ตราด ที่เจ้าของถูกฟ้องร้องและมีการยึดทรัพย์จากกรมบังคับคดี ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการประเมินราคาไว้ที่ตารางวาละ 12,000 บาท แต่เมื่อมีการยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ มีการประเมินราคาตารางวาละ 4,000 บาท โดยมีการแบ่งที่เป็น 2 แปลง คือแปลงที่ติดถนนประเมินว่าเป็นที่ที่ราคาแพง และแปลงที่ติดกันประเมินเป็นแปลงที่ราคาตาบอด จึงอยากทราบว่าเหตุใดรัฐบาลจึงปล่อยปละละเลยให้กรมบังคับคดีทำเช่นนี้


แชร์ข่าวนี้