หน้าแรก เศรษฐกิจ กสทช. ชงครม. ให้ประชาชนใช้งานเน็ตมือถือเพิ่มเป็น 10 GB เน็ตบ้านอัพสปีดให้เป็น 100 Mbps

กสทช. ชงครม. ให้ประชาชนใช้งานเน็ตมือถือเพิ่มเป็น 10 GB เน็ตบ้านอัพสปีดให้เป็น 100 Mbps

414
แชร์ข่าวนี้

พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า จากการที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ได้หารือกับนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม เพื่อหามาตรการเร่งด่วน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา

และในวันที่ 23 มี.ค.ที่ประชุม กสทช. ได้นัดประชุมวาระพิเศษเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือประชาชนทุกระดับ โดยมีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบฯ โดยการลดค่าใช้จ่ายด้านโทรคมนาคม และส่งเสริมการทำงานที่บ้าน รวมทั้งสนับสนุนการทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วนต่อไป ดังนี้ มาตรการที่ 1 สนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์เคลื่อนที่ (Mobile Broadband) เพิ่ม 10 GB (กิกกะไบต์) ต่อคนต่อเดือนให้แก่ผู้ใช้งานในปัจจุบัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กสทช. ชงครม. ให้ประชาชนใช้งานเน็ตมือถือเพิ่มเป็น 10 GB เน็ตบ้านอัพสปีดให้เป็น 100 Mbps

โดยผู้ใช้บริการ 1 คนจะได้รับการสนับสนุน 1 เลขหมาย ต่อ 1 ผู้ให้บริการ เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยใช้ฐานลูกค้าที่มีผู้ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และประชาชนจะสามารถรับสิทธิได้ด้วยการลงทะเบียนผ่านของผู้ให้บริการที่ใช้งานอยู่ คาดว่าจะสามารถสนับสนุนประชาชนให้เข้าร่วมมาตรการนี้ประมาณ 50 ล้านเลขหมาย คาดใช้เม็ดเงินประมาณ 15,000 ล้านบาท เดือนละประมาณ 3,500 ล้านบาท อย่างไรก็ดี กสทช. จะเจรจากับผู้ประกอบการให้ได้อัตราค่าบริการที่ถูกที่สุด งบประมาณส่วนนี้จะขอความเห็นชอบครม. ให้หักจากวงเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ประมูลได้

ส่วนมาตรการที่ 2 สนับสนุนการจัดให้มีบริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่ (Fixed Broadband) ให้แก่ผู้ใช้งานในปัจจุบัน โดยปรับเพิ่มขนาดความจุ (Capacity) เท่าที่ผู้ให้บริการจะสามารถดำเนินการได้ กล่าวคือ กรณีบริการ ADSL/VDSL/Copper ให้ปรับเพิ่มความเร็วสูงสุดที่สามารถทำได้ และกรณีบริการ FTTX ให้ได้ระดับความเร็ว (Download) 100 Mbps เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บรอดแบนด์ประจำที่อยู่ที่ 8 ล้านครัวเรือน โดย กสทช. จะใช้เงินจากเงินที่ต้องนำส่งกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 730 ล้านบาท


แชร์ข่าวนี้